ชุดกลอนไฟฟ้าแบบไหนที่จะเหมาะกับประตูของคุณ??

 

 

 

 

 

 

 

กลอนไฟฟ้าแบบไหนที่จะเหมาะกับประตูของคุณ

 

กลอนไฟฟ้า: อุปกรณ์รักษาความปลอดภัยดิจิทัลสำหรับระบบควบคุมการเข้าออก

ในยุคดิจิทัล การรักษาความปลอดภัยถือเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง กลอนไฟฟ้าจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในระบบควบคุมการเข้าออก (Access Control) กลอนไฟฟ้า เปรียบเสมือนกุญแจดิจิทัล ทำหน้าที่ล็อกและปลดล็อกประตูโดยใช้สัญญาณไฟฟ้า แทนที่กุญแจแบบดั้งเดิม อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความสะดวก ปลอดภัย และง่ายต่อการจัดการ ในปัจจุบัน ระบบควบคุมการเข้าออก (Access Control) มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ กลอนไฟฟ้าจึงเป็นอุปกรณ์เสริมที่สำคัญสำหรับระบบดังกล่าว กลอนไฟฟ้ามีหลายประเภทซึ่งมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป บทความนี้จะแนะนำชุดกลอนไฟฟ้าแบบต่าง ๆ พร้อมทั้งแนะนำประตูที่เหมาะสมกับชุดกลอนแต่ละแบบให้คุณเลือกใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมที่สุด

ประเภทของชุดกลอนไฟฟ้า

 1.กลอนแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Lock+LZ  ):   กลอนแม่เหล็กไฟฟ้าประกอบด้วยสองส่วน คือ ส่วนแม่เหล็กและแผ่นเพลท เมื่อจ่ายไฟให้กับกลอนไฟฟ้า แม่เหล็กจะดูดแผ่นเพลทไว้ ทำให้ประตูไม่สามารถเปิดได้ ซึ่งในปัจจุบันมีให้เลือกขนาดแรงดันในการล็อค คือ 300P. / 600P.  และ 1,200P.   รุ่น 600P. จะนิยมใช้มากที่สุด สามารถล็อคประตูบานใหญ่และรับน้ำหนักได้เยอะและราคาไม่แพงมากเกินไป

  • ทำงานโดยใช้แรงดึงดูดแม่เหล็ก ล็อคประตูให้สนิท
  • เหมาะกับประตูไม้ ประตูเหล็ก ประตูกระจกขอบอลูมิเนียม และประตูกระจก
  • ติดตั้งได้ทั้งแบบแนวตั้งและแนวนอน อยู่ที่ความต้องการของลูกค้า
  • ข้อดี: ราคาไม่แพง ติดตั้งง่าย ใช้งานสะดวก
  • ข้อเสีย: แรงดึงดูดของชุดกลอนอาจจะไม่เท่ากับชุดกลอนไฟฟ้าที่เป็นแบบเดือย กลอนหรือสลัก 
 
 

2.กลอนแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Lock+U Bracket For Magnatic ):   กลอนแม่เหล็กไฟฟ้าประกอบด้วยสองส่วน คือ ส่วนแม่เหล็กและแผ่นเพลท เมื่อจ่ายไฟให้กับกลอนไฟฟ้า แม่เหล็กจะดูดแผ่นเพลทไว้ ทำให้ประตูไม่สามารถเปิดได้

  • ทำงานโดยใช้แรงดึงดูดแม่เหล็ก ล็อคประตูให้สนิท
  • เหมาะสำหรับประตูกระจกที่ไม่มีขอบประตู แบบบานเปลือยด้านล่าง 
  • ข้อดี: ราคาไม่แพง ติดตั้งง่าย ใช้งานสะดวก
  • ข้อเสีย: แรงดึงดูดของชุดกลอนอาจจะไม่เท่ากับชุดกลอนไฟฟ้าที่เป็นแบบเดือย กลอน หรือสลัก 
 
 
 
3.กลอนแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Lock+DSU For Magnatic ):   กลอนแม่เหล็กไฟฟ้าประกอบด้วยสองส่วน คือ ส่วนแม่เหล็กและแผ่นเพลท เมื่อจ่ายไฟให้กับกลอน แม่เหล็กจะดูดแผ่นเพลทไว้ ทำให้ประตูไม่สามารถเปิดได้
  • ทำงานโดยใช้แรงดึงดูดแม่เหล็ก ล็อคประตูให้สนิท
  • เหมาะกับประตูไม้ ประตูเหล็ก ประตูอลูมิเนียม และประตูกระจก
  • ติดตั้งได้ทั้งแบบแนวตั้งและแนวนอน อยู่ที่ความต้องการของลูกค้า
  • ข้อดี: ราคาไม่แพง ติดตั้งง่าย ใช้งานสะดวก
  • ข้อเสีย: แรงดึงดูดของชุดกลอนอาจจะไม่เท่ากับชุดกลอนที่เป็นแบบเดือย กลอนหรือสลัก 
  • เหมาะสำหรับประตูกระจกที่ไม่มีขอบประตู แบบบานเปลือยบน-ล่าง

4.กลอนไฟฟ้าแบบเดือย (Electric Bolt): กลอนไฟฟ้าแบบเดือยมีเดือยโลหะที่ยื่นออกมาจากตัวกลอน เมื่อจ่ายไฟให้กับกลอนไฟฟ้า เดือยจะยื่นออกมาล็อกประตู กลอนไฟฟ้าแบบเดือยเหมาะสำหรับประตูไม้ ประตูโลหะ และประตูกระจก

  • ทำงานโดยใช้เดือยเหล็กยื่นออกมาล็อคประตู
  • เหมาะกับประตูไม้ ประตูเหล็ก และประตูอลูมิเนียม
  • มีทั้งแบบติดตั้งบนกรอบประตูและแบบฝังในวงกบ
  • ข้อดี: แรงล็อคสูง ปลอดภัย ทนทาน
  • ข้อเสีย: ราคาสูงกว่ากลอนแม่เหล็กไฟฟ้า เสียงดังขณะเปิดปิด
  • เหมาะสำหรับประตูไม้ ประตูกระจก ประตูกระจกมีขอบอลูมิเนียม
 

 

5.กลอนไฟฟ้าแบบสลัก (Electric Drop Bolt): กลอนไฟฟ้าแบบสลักมีสลักโลหะที่ยื่นลงมาจากตัวกลอน เมื่อจ่ายไฟให้กับกลอนไฟฟ้า สลักจะเลื่อนลงมาล็อกประตู กลอนไฟฟ้าแบบสลัก

  • ทำงานโดยใช้สลักเหล็กเลื่อนลงมาล็อคประตู
  • เหมาะกับประตูไม้ ประตูเหล็ก และประตูกระจกมีขอบอลูมิเนียม
  • ติดตั้งบนกรอบประตู
  • ข้อดี: แรงล็อคสูง ปลอดภัย ใช้งานง่าย
  • ข้อเสีย: ราคาสูง เสียงดังขณะเปิดปิด
 

 

6. กลอนไฟฟ้าแบบคาน (Electric Strike):  ทำงานโดยอาศัยแรงแม่เหล็กดูดระหว่างตัวกลอนบนบานประตูและแผ่นรับบนวงกบประตู เมื่อจ่ายไฟให้กับชุดกลอนไฟฟ้า ขดลวดแม่เหล็กจะสร้างแรงดึงดูดระหว่างตัวกลอนบนบานประตูและแผ่นรับบนวงกบประตู ทำให้ประตูล็อคแน่น

  • ทำงานโดยใช้ตัวกลอนโลหะล็อคกับตัวรับบานประตู
  • เหมาะกับประตูไม้ ประตูโลหะ และประตูอลูมิเนียม
  • ติดตั้งบนกรอบประตู
  • ข้อดี: แรงล็อคสูง ใช้งานเงียบ
  • ข้อเสีย: ราคาสูง ติดตั้งยาก 

ประตูที่เหมาะสมกับชุดกลอนไฟฟ้า ประเภทของประตูมีผลต่อการเลือกชุดกลอนไฟฟ้า ดังนี้

  • ประตูไม้: สามารถใช้ชุดกลอนไฟฟ้าได้ทุกประเภท 
  • ประตูเหล็ก: สามารถใช้ชุดกลอนไฟฟ้าได้ทุกประเภท
  • ประตูกระจก: ควรใช้ชุดกลอนแม่เหล็กไฟฟ้า หรือชุดกลอนไฟฟ้าแบบเดือยหรือแบบสลัก
  • ประตูอลูมิเนียม: สามารถใช้ชุดกลอนไฟฟ้าทุกประเภท
  • ประตู PVC: สามารถใช้ชุดกลอนไฟฟ้าแบบ Magnatic
 

 

จากข้างต้นจะเห็นว่าทุกประตูก็ใช้ชุดกลอนไฟฟ้าได้เกือบทุกประเภท แล้วทำไมแต่ละประตูถึงไม่ใช้กลอนไฟฟ้าที่ราคาถูกที่สุดอย่าง Magnatic Lock ?? เหตุผลที่ลูกค้าแต่ละท่านเลือกใช้กลอนแตกต่างกัน สิ่งที่สำคัญที่สุดคือความต้องการและข้อจำกัดการใช้งานของประตู

✴️หากคุณต้องการใช้แบบ Magnatic Lock คุณจะสามารถเลือกเปิด-ปิดประตูแบบผลักได้ 90 องศา  เพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถผลักเข้าหรือออกได้ 2 ทิศทาง ซึ่ง Magnatic Lock ในปัจจุบันมี 3 Level ให้เลือก 

✅Magnatic Lock 300P. รองรับแรงดึงได้ 136 KG. หากมีการทุบหรืองัดแงะ ต้องใช้แรงในการกระทำมากกว่า 136 KG. จึงจะสามารถเปิดประตูได้

✅Magnatic Lock 600P. รองรับแรงดึงได้ 272 KG. หากมีการทุบหรืองัดแงะ ต้องใช้แรงในการกระทำมากกว่า 272 KG. จึงจะสามารถเปิดประตูได้

✅Magnatic Lock 1200P. รองรับแรงดึงได้ 544 KG. หากมีการทุบหรืองัดแงะ ต้องใช้แรงในการกระทำมากกว่า 544 KG. จึงจะสามารถเปิดประตูได้

✴️หากคุณต้องการใช้แบบ Magnatic Lock + U Bracket  for magnatic คุณจะสามารถเลือกเปิด-ปิดประตูแบบผลักได้ 90 องศา เพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถผลักเข้าหรือออกได้ 2 ทิศทาง และจะต้องมีช่องว่างระหว่างประตูและขอบประตูหรือวงกบประตูไม่น้อยกว่า 6 mm. เพื่อให้สามารถใส่ตัว U Bracket for magnatic ได้ อุปกรณ์ชิ้นนี้เป็นส่วนสำคัญที่จะครอบกระจกป้องกันไม่ให้กระจกแตก เวลาที่ชุด Manatic Lock มากระทบและดูดแผ่นเพลทให้ล็อค

✴️หากคุณต้องการใช้แบบ Magnatic Lock + DSU  For Magnatic คุณจะสามารถเลือกเปิด-ปิดประตูแบบผลักได้ 90 องศาเพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถผลักเข้าหรือออกได้ 2 ทิศทาง และจะต้องมีช่องว่างระหว่างประตูและขอบประตูหรือวงกบประตูไม่น้อยกว่า 8 mm. เพื่อให้สามารถใส่ตัว DSU For Magnatic ได้ อุปกรณ์ชิ้นนี้เป็นส่วนสำคัญที่จะครอบกระจกป้องกันไม่ให้กระจกแตก เวลาที่ชุด Manatic Lock มากระทบและดูดแผ่นเพลทให้ล็อค

✴️หากคุณต้องการใช้แบบ Electric Bolt, Drop Bolt หรือ Electric Strike คุณสามารถเลือกเปิด-ปิดประตูแบบผลักเข้าหรือออกได้ 2 ทิศทาง 180 องศา สะดวกต่อการใช้งาน แต่ทำไมคนถึงชอบนิยมติดตั้งแบบ Magnatic Lock มากกว่า เพราะการติดชุดกลอนแบบ Electric Bolt, Drop Bolt หรือ Electric Strike มีข้อจำกัดเรื่องของประตูค่อนข้างเยอะซึ่งจะแยกเป็นข้อย่อยดังนี้

✅เมื่อติดตั้งกลอนดังกล่าวไปซักระยะ หากประตูมีการตก หรือทรุด จะทำให้ชุดกลอนไม่อยู่ในตำแหน่งเดิม สลัก, เดือยหรือตัวกลอน จะไม่สามารถยื่นลงมาล็อคตัวรับอีกฝั่งหนึ่งได้ ทำให้ประตูปิดไม่ได้

✅เมื่อใช้กับห้องที่เปิดแอร์ อาจจะมีเรื่องของแรงดันอากาศ เวลาเปิดและปิดประตู จะต้องคอยดึงประตูให้มาประกบกันในตำแหน่งเดิมให้มากที่สุด ไม่อย่างนั้น สลัก, เดือยหรือตัวกลอน จะไม่สามารถยื่นลงมาล็อคตัวรับอีกฝั่งหนึ่งได้ ทำให้ประตูปิดไม่ได้

✅การติดตั้งแบบ Electric Bolt, Drop Bolt หรือ Electric Strike  ซึ่งสามารถติดตั้งได้ทั้งการติดในขอบประตูด้านบน หรือด้านล่าง โดยการฝังในวงกบประตู การติดตั้งแบบนี้ทำได้ยาก และต้องใช้ความชำนาญสูงเพราะต้องคว้านประตูดังกล่าว ให้สามารถใส่ชุดอุปกรณ์นี้เข้าไปในเนื้อไม้หรืออลูมิเนียม  หากหน้างานของคุณไม่สามารถติดขอบประตูด้านบน คุณสามารถติดตั้งด้านล่างของประตูได้ แต่เมื่อใช้งานไปสักระยะ ชุดอุปกรณ์แม่เหล็กที่เป็นตัวรับ จะมีเศษฝุ่นผง หรือสิ่งสกปรกเข้าไปตกค้างและอุดตันอยู่ในรูของตัวอุปกรณ์ Electric Bolt, Drop Bolt  ซึ่งจะทำให้เจอปัญหาประตูล็อคไม่สนิทในอนาคตได้บ่อย ๆ

 

 

ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการเลือกชุดกลอนไฟฟ้า

  • ประเภทของประตู: เลือกชุดกลอนไฟฟ้าที่เหมาะกับประเภทของประตู
  • น้ำหนักของประตู: เลือกชุดกลอนไฟฟ้าที่มีแรงดึงเพียงพอที่จะล็อกประตูได้
  • สภาพแวดล้อม: เลือกชุดกลอนไฟฟ้าที่กันน้ำ กันฝุ่น และทนทานต่อสภาพอากาศ
  • งบประมาณ: กลอนไฟฟ้ามีราคาแตกต่างกันไป ควรเลือกให้เหมาะกับงบประมาณ

ตัวอย่างการติดตั้งประตูแบบต่าง ๆ

1. ประตูกระจกขอบอลูมิเนียม แบบบานคู่แบบผลัก 90 องศา หากต้องการล็อคประตูทั้ง 2 บาน จะต้องติดตั้งชุดกลอนไฟฟ้า 2 ชุด แต่หากต้องการผลักแค่ประตูบานเดียว สามารถล็อคประตูอีกข้างหนึ่ง และเปิดใช้แค่ฝั่งเดียว

 

 2. ประตูกระจกขอบอลูมิเนียม แบบบานเดียวแบบผลัก 90 องศา 
 
 
 
3.ประตูกระจกขอบอลูมิเนียม แบบบานเลื่อน
 
 
4. ประตูไม้ บานเดียวแบบผลัก 90 องศา 
 
 
5. ประตูกระจกเปลือยบนล่าง บานคู่ แบบผลัก 90 องศา  ติดตั้งชุดกลอน 2 ชุด สามารถเปิดประตูได้ทั้ง 2 ฝั่ง
 
 
6. ประตูกระจกเปลือยล่าง บานคู่ แบบผลัก 90 องศา  ติดตั้งชุดกลอน 1 ชุด  เปิดใช้ฝั่งเดียว
 
 
 
7. ประตู Autodoor  บานคู่แบบเลื่อน
 
 
8. ประตูกระจกเปลือยล่าง บานเดี่ยว แบบผลักเข้า-ออก 180 องศา  
 
 
9. ประตูกระจกขอบอลูมิเนียม บานคู่ แบบผลักเข้า-ออก 180 องศา  ติดตั้งชุดกลอน 1 ชุด  เปิดใช้ฝั่งเดียว
 
 
9. ประตูกระจกเปลือยล่าง บานคู่ แบบผลักเข้า-ออก 180 องศา  ติดตั้งชุดกลอน 2 ชุด  สามารถเปิดประตูได้ทั้ง 2 ฝั่ง
 
 
10. ประตูรั้วอลูมิเนียม  บานคู่ แบบผลักเข้า-ออก 180 องศา  ติดตั้งชุดกลอน 1 ชุด  เปิดใช้ฝั่งเดียว
 
 
9. ประตูไม้ บานเดี่ยว แบบผลัก 90 องศา
 
 
10. ประตูเหล็ก  บานเดี่ยว แบบผลักเข้า-ออก 90 องศา  
 
 
 
11. ประตูเหล็ก  บานเดี่ยว แบบผลักเข้า-ออก 90 องศา 
 
 
12. ประตูรั้วเหล็ก แบบบานเลื่อน 
 
 

สรุป

ชุดกลอนไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์เสริมที่สำคัญสำหรับระบบควบคุมการเข้าออก มีชุดกลอนไฟฟ้าหลายประเภท แต่ละประเภทมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน ควรเลือกชุดกลอนไฟฟ้าที่เหมาะกับประเภทของประตู น้ำหนักของประตู สภาพแวดล้อม และงบประมาณ

หมายเหตุ

  • ข้อมูลในบทความนี้เป็นเพียงข้อมูลทั่วไป ควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจเลือกซื้อชุดกลอนไฟฟ้า
  • ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านระบบควบคุมการเข้าออกเพื่อเลือกชุดกลอนไฟฟ้าที่เหมาะสมกับความต้องการ
 
 
 
Visitors: 1,430,127